เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [จูฬสงคราม] 1. อนุวิชชกัสสปฏิปัตติ
และมิใช่ฐานะ การรู้ฐานะและมิใช่ฐานะเพื่อประโยชน์แก่การข่มบุคคลผู้เก้อยาก
เพื่อประโยชน์แก่การยกย่องเหล่าภิกษุมีศีลดีงาม สงฆ์เพื่อประโยชน์แก่การสอดส่อง
และรับรอง บุคคลที่สงฆ์อนุมัติแล้ว ตั้งอยู่ในตำแหน่งเฉพาะ ตั้งอยู่ในตำแหน่งผู้ไม่
กล่าวให้คลาดเคลื่อน

ประโยชน์แห่งวินัย เป็นต้น
วินัยเพื่อประโยชน์แก่ความสำรวม ความสำรวมเพื่อประโยชน์แก่ความไม่
เดือดร้อน ความไม่เดือดร้อนเพื่อประโยชน์แก่ความปราโมทย์ ความปราโมทย์เพื่อ
ประโยชน์แก่ความปีติ ความปีติ เพื่อประโยชน์แก่ปัสสัทธิ ปัสสัทธิเพื่อประโยชน์แก่
ความสุข ความสุขเพื่อประโยชน์แก่สมาธิ สมาธิเพื่อประโยชน์แก่ความรู้เห็นตาม
เป็นจริง ความรู้เห็นตามเป็นจริงเพื่อประโยชน์แก่ความเบื่อหน่าย ความเบื่อหน่าย
เพื่อประโยชน์แก่ความคลายกำหนัด ความคลายกำหนัด เพื่อประโยชน์แก่วิมุตติ
วิมุตติเพื่อประโยชน์แก่วิมุตติญาณทัสสนะ วิมุตติญาณทัสสนะเพื่อประโยชน์แก่
อนุปาทาปรินิพพาน การกล่าวมีอนุปาทานิพพานนั้นเป็นประโยชน์ การปรึกษามี
อนุปาทานิพพานนั้นเป็นประโยชน์ ความเป็นปัจจัยกันมีอนุปาทานิพพานนั้น
เป็นประโยชน์ ความเงี่ยโสตสดับมีอนุปาทานิพพานนั้นเป็นประโยชน์ คือ ความพ้น
วิเศษแห่งจิตเพราะไม่ยึดมั่น

อนุโยควัตร(วัตรในการซักถาม)
[367] เธอจงพิจารณาวัตร ในการซักถาม อนุโลมแก่สิกขาบท
อันพระพุทธเจ้า ผู้ฉลาด มีพระปัญญาทรงวางไว้
ตรัสไว้ดีแล้ว อย่าให้เสียคติที่เป็นไปในสัมปรายภพ
ภิกษุใดไม่รู้วัตถุ วิบัติ อาบัติ นิทาน คำต้น คำหลัง
สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ โดยเสมอ และเป็นผู้ไม่เข้าใจอาการ
ภิกษุผู้เช่นนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสว่าไม่ควรเลือก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :552 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [จูฬสงคราม] หัวข้อประจำเรื่อง
อนึ่ง ภิกษุใดไม่รู้กรรม อธิกรณ์ และไม่เข้าใจสมถะ
เป็นผู้กำหนัดขัดเคือง และหลง ย่อมลำเอียงเพราะกลัว
เพราะหลง ไม่ฉลาดในสัญญัติ ไม่ฉลาดในการพินิจ
เป็นผู้ได้พรรคพวก ไม่มีความละอาย มีกรรมดำ ไม่เอื้อเฟื้อ
ภิกษุผู้เช่นนั้น ๆ แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่าไม่ควรเลือก
ภิกษุใดรู้วัตถุ วิบัติ อาบัติ นิทาน คำต้น คำหลัง
สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำโดยเสมอ และเป็นผู้เข้าใจอาการ
ภิกษุผู้เช่นนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสว่าควรเลือก
อนึ่ง ภิกษุใดรู้กรรม อธิกรณ์ และเข้าใจสมถะ เป็นผู้ไม่กำหนัด
ไม่ขัดเคืองและไม่หลง ไม่ลำเอียงเพราะกลัว เพราะหลง
ฉลาดในสัญญัติ ฉลาดในการพินิจ เป็นผู้ได้พรรคพวก
มีความละอาย มีกรรมขาว มีความเคารพ
ภิกษุผู้เช่นนั้น ๆ แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่าควรเลือก
จูฬสงคราม จบ

หัวข้อประจำเรื่อง
ภิกษุผู้เข้าสงครามพึงมีจิตยำเกรงถาม หนักในสงฆ์
ไม่หนักในบุคคล สูตรเพื่อประโยชน์แก่การเทียบเคียง
วินัยเพื่ออนุเคราะห์ หัวข้อตามที่กล่าวนี้มีอุทเทสอย่างเดียวกัน
ท่านจัดไว้ในจูฬสงครามแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :553 }